พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับล่าสุด❗️
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คือ🤔??
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมา
เพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิด
ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนด
ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.
· การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
· การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
· การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
· การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
· การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม
· ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
· การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
· การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด
· การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่น
· การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล
ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.
1. ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์
2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า
ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host ServiceProvider)
- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web
board หรือweb service เป็นต้น
ข้อมูลของผู้ใช้บริการ👩🏻💻🧑🏻💼
ผู้ให้บริการทันทีเสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม ต้องเก็บข้อมูลเท่าทีจําเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้
ไม่ว่าจะเป็นชื่อนามสกุล เลขประจําตัวประชาชนUSERNAMEหรือ PIN CODE ไว้ ไม่น้อยกว่า 90 วันนับ
ตังแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงหากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง
50,000 บาทรวมถึงเว็บบอร์ดทังหลาย ซึงมีผู้มาโพสเป็นจํานวนร้อย -พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแล
โฮสติงหรือผู้ทําอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจเสียงต่อการระมัดระวังข้อความเหล่านั้น
พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการ
กระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตังใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน และทีสําคัญ คือผู้ให้บริการ
ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน นิสิต นักศึกษาในองค์กร
ผู้รับผิดชอบมีหน้าทีดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ "ผู้ให้บริการ"
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิงต่อไปนี้เพราะอาจจะทําให้ “เกิดการกระทำความผิด"
1. ไม่ควรบอก passwordแก่ผู้อื่น
2. อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนทีเพื่อเข้าเน็ต
3. อย่าติดตังระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือทีทํางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งาน
และการเข้ารหัสลับ
4. อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser ID และ password ทีไม่ใช่ของท่านเอง
5. อย่านํา user ID และ passwordของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
6. อย่าส่งต่อซึงภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวทีผิดกฎหมาย
7. อย่า กด "remember me"หรือ "remember password"ทีเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่า
log-in เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินทีเครื่องสาธารณะ
8. อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN)ทีเปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
ความผิดอาญาตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไปดูเจอคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน
10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้ เจอคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน
20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมาเจอคุกไม่เกิน 2 ปี
หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัวแล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา เจอคุกไม่
เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาเราดันมือบอนแก้เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่
เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือtrojan
หรือ worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยงเจอคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน
100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ จนทำให้เขาเบื่อหน่าย
รำคาญเจอปรับไม่เกิน100,000บาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี
และปรับไม่เกิน 200,000บาทก่อความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศ เศษรฐกิจ และสังคม จำคุก
ตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาทถึง300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น
จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆใน ข้อข้างบนได้เจอคุกไม่เกินปีนึง หรือปรับไม่เกิน
20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.โป๊,โกหก, ปลอมแปลง,กระทบความมั่นคง,ก่อการร้าย, และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าว
มาข้างต้น เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11.ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วสนับสนุน/ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับ
ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับคนที่ทำเลย
12.ใครอยากเป็นศิลปินข้างถนน ที่ชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วเอาไปโชว์ผลงานบนระบบคอมพิวเตอร์
ให้ใครต่อใครดูเตรียมใจไว้เลยมีสิทธิ์โดนเจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอด โดนแหงๆ ฝรั่งทำผิดกับเรา
แล้วอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน
สรุป 13 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับนี้ไว้แล้ว
กรณีศึกษา: การทำผิดกฎหมายคอมพิวเตอร์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
หลังจากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 2 ก็มีเคสที่เข้าข่ายกระทำความผิด พ.ร.บ. ออกมาให้เห็นกันบ้างค่ะ เพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น เราเลยขอยกตัวอย่างเคสที่อาจผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาให้อ่านกันค่ะ
เคสแรก เป็นเคสที่ออกข่าวอย่างโด่งดังเช่นกัน เป็นกรณีที่มีชายหนุ่มคนหนึ่งถ่ายรูปตึกที่มีลักษณะ
เอนๆ พร้อมโพสต์ข้อความประมาณว่า ตึกทรุดตัว ลงบน Facebook เลยทำให้เกิดเป็นประเด็นที่หลาย
เอาตกอกตกใจไปกันใหญ่ แต่ต่อมาก็มีการเปิดเผยว่า ตึกที่เห็นนั้นเป็นเพียงดีไซน์ของตึกที่ตั้งใจจะให้
เอนแบบนั้นอยู่แล้ว เลยทำให้เจ้าของโพสต์ถูกตำรวจเรียกสอบสวน เพราะเข้าข่ายความผิด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14 (2) นำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จก่อให้เกิดความตื่น
ตระหนก
อีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็สามารถช่วยคุ้มครองผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือ
อินเตอร์เน็ตได้ด้วย อย่างเช่นกรณีคดีของคุณบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้น
บ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44
ซึ่งคุณบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องความเป็นธรรมต่อศาลว่า ปัจจุบันได้มีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.
2560 แล้ว โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และ
บัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท
ตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ผลก็
คือ อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
เราก็จะเริ่มเห็นว่า ได้เริ่มมีการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กันอย่างจริงจัง และมีการปรับใช้ให้ตรงตาม
พ.ร.บ. ที่แก้ไข ไม่ใช่แค่จับกุมผู้ทำผิด แต่ยังคุ้มครองผู้ที่ไม่มีความผิดใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 2 แล้ว
13เรื่องที่ห้ามทำผิดกฎหมายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และบทลงโทษ
1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ
- เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรั
หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy)
หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง
หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
บทลงโทษ
ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดย
มิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น
กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบ
เว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ
บทลงโทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม
ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ
หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และ
ยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ
บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้
ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ
โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่
เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึง
ระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่าย
ข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือ
ทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบ
คอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ
- กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
- กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
- กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท
- กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11
(หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำ
ไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
- กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12
ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด
ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น
5 ข้อความผิดด้วยกันคือ
- โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
- โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
- โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
- โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
- เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )
บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้ง
จำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน
3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่
มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่า
เป็นผู้ที่พ้นความผิด
7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด
กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่
มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่า
เป็นผู้ที่พ้นความผิด
บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่น
เดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้น
ตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ
ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูก
ดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิด
ความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อ
เสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
บทลงโทษ
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาทข้อนี้มีขึ้นเพื่อปกป้องเด็ก
และเยาวชน เพราะเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือก็คือยังเป็นเด็กอยู่ หาก
ถูกเปิดเผยตัวตน อาจทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ลำบากขึ้น อาจเกิดการถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือโดน
ตามตัวโดยมิจฉาชีพได้ แต่ข้อห้ามนี้ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันคือ สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและ
เยาวชนได้ หากข้อมูลนั้นเป็นการยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ
9. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเยาวชน ต้องกระทำโดยปกปิดไม่ให้ทราบตัวตน
ข้อนี้มีขึ้นเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชน เพราะเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือก็คือยังเป็นเด็กอยู่ หาก
ถูกเปิดเผยตัวตน อาจทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้ลำบากขึ้น อาจเกิดการถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือโดน
ตามตัวโดยมิจฉาชีพได้ แต่ข้อห้ามนี้ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกันคือ สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและ
เยาวชนได้ หากข้อมูลนั้นเป็นการยกย่อง เชิดชู ให้เกียรติ
บทลงโทษ
จำคุก 1-3 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
10. เผยแพร่เนื้อหาลามก อนาจาร
เป็นเรื่องที่ทราบดีอยู่แล้ว และใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับนี้เอง ก็ห้ามเปิดเผยเนื้อหาลามก อนาจาร สู่
สาธารณะ ที่คนอื่นๆ สามารถเห็นได้
บทลงโทษ
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11. กด Like & Share ถือเป็นวิธีหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล
บทลงโทษ
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับคิดว่าคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับปุ่มไลค์กับ
ปุ่มแชร์บนโลก Social Media หรอกใช่ไหมคะ และก็เชื่อด้วยว่าวันๆ หนึ่ง เรากดปุ่มพวกนี้กันอยู่เสมอ
เมื่อใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดว่าการกด Like & Share ถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูล ก็แสดงว่าหากข้อมูล
นั้นเป็นข้อมูลปลอม เท็จ หรืออะไรก็ตามแต่ นั่นเท่ากับว่าเราผิดกฎหมาย พ.ร.บ. แล้ว
ดังนั้นก่อนไลค์ก่อนแชร์ ก็พิจารณากันให้ชัวร์นะคะ
12. แสดงความคิดเห็นที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
บทลงโทษ
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากคุณมีเพจเป็นของตัวเอง การหมั่นเช็คข้อความบนหน้าเพจก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากถูกตรวจเจอ
ข้อความที่ผิดกฎหมาย คุณจะมีความผิดด้วย
13. ละเมิดลิขสิทธิ์ นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
ข้อนี้สำคัญ ควรต้องระวังไว้ให้มาก การนำผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง โดยปกติก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีอยู่
แล้ว ซึ่งใน พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็ได้มีการให้โทษกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย โดยหากนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในเชิง
พาณิชย์ จะถือว่ามีความผิด และต้องได้รับโทษ
บทลงโทษ
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
<<พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับเต็ม>>
<<VIDEO>>
ข้อมูลอ้างอิงจาก:https://contentshifu.com/blog/computer-law
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น